ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000

มหาวิทยาลัยศิลปากร เพชรบุรี เลขที่ 1 หมู่ 3 ถนนชะอำ–ปราณบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120

มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Silpakorn University; ชื่อย่อ: มศก. – SU) เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะและการออกแบบ ปัจจุบันเปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์

ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร" ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น "โรงเรียนศิลปากร" และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 พระยาอนุมานราชธน ร่วมกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงทางศิลปะของชาติ โดยมีปณิธานที่จะสร้างสรรค์ศิลปะ วิทยาการ และภูมิปัญญาเพื่อสังคม มีผลให้งานศิลปะของชาติพัฒนาและก้าวหน้า มีกิจกรรมและวิชาการต่าง ๆ ที่ดำเนินการเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเสมอมา นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากรมีผู้อำนวยการและอธิการบดีมาแล้ว 19 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย สุทธะนันท์

มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เดิมคือ "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร" เปิดสอนวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมให้แก่ข้าราชการและนักเรียนในสมัยนั้นโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (เดิมชื่อ Corrado Feroci) ชาวอิตาลีซึ่งเดินทางมารับราชการในประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนแห่งนี้ขึ้น และได้เจริญเติบโตเป็นลำดับเรื่อยมา จนกระทั่งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) ในปี พ.ศ. 2498 จัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมไทย (ซึ่งต่อมาได้ปรับหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) และคณะโบราณคดี หลังจากนั้นได้จัดตั้งคณะมัณฑนศิลป์ ขึ้นในปีต่อมา

ปี พ.ศ. 2509 มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายที่จะเปิดคณะวิชาและสาขาวิชาที่หลากหลายขึ้น แต่เนื่องจากบริเวณพื้นที่ในวังท่าพระคับแคบมาก ไม่สามารถจะขยายพื้นที่ออกไปได้ จึงได้ขยายเขตการศึกษาไปยังพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยจัดตั้งคณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. 2511 คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. 2513 และคณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2515 ตามลำดับ หลังจากนั้น จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ พ.ศ. 2529 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ปัจจุบันคือคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทศโนโลยีอุตสาหกรรม) พ.ศ. 2535 และจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2542 เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความสมบูรณ์ทางด้านศิลปะมากยิ่งขึ้น

ปี พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายเขตการศึกษาไปจัดตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อกระจายการศึกษาไปสู่ภูมิภาค ใช้ชื่อว่า "วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี" จัดตั้งคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ในปี พ.ศ. 2544 คณะวิทยาการจัดการ ในปี พ.ศ. 2545 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2546 และวิทยาลัยนานาชาติ ในปีเดียวกัน

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายงานในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2515 โดยจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการ

วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2559" โดยได้ยกเลิก "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2530 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปีพ.ศ. 2541" และกำหนดให้มหาวิทยาลัยมีสถานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มหาวิทยาลัยศิลปากร ใช้คำว่า "ศิลปากร" (อ่านว่า สิน–ละ–ปา–กอน) เป็นชื่อภาษาไทยของมหาวิทยาลัย และใช้อักษรโรมันว่า "Silpakorn"

"ศิลปากร" เป็นคำสนธิระหว่าง "ศิลปะ" หมายถึง ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร และ "อากร" หมายถึง บ่อเกิด, ที่เกิด ดังนั้น "ศิลปากร" จึงมีความหมายว่า "บ่อเกิดแห่งศิลปะ"

อีกทั้งชื่อของมหาวิทยาลัยศิลปากร ยังพ้องกับชื่อของกรมศิลปากร เนื่องจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร" และต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น "โรงเรียนศิลปากร" จนกระทั่งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปัจจุบัน ซึ่งชื่อ "ศิลปากร" นั้นมาจาก

...แยกการช่างที่เป็นประณีตศิลปไว้ส่วนหนึ่ง แลให้ยกกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการ มารวมกันตั้งขึ้นเป็น "กรมศิลปากร" มีผู้บัญชาการกรมขึ้นตรงต่อพระเจ้าแผ่นดิน...

ดังนั้น การใช้ชื่อ "ศิลปากร" จึงดูเหมาะสมและถูกต้อง เพราะมหาวิทยาลัยศิลปากรมีความเกี่ยวข้องกับกรมศิลปากรในอดีต แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแล้ว

พระพิฆเนศ หรือพระคเณศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ ทั้งยังเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับบนบัลลังก์เมฆที่เขียนด้วยลายกนก ภายใต้มีอักษรว่า "มหาวิทยาลัยศิลปากร" โดยประกาศใช้เมื่อ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ซึ่งคล้ายคลึงกับกรมศิลปากร

และเมื่อมหาวิทยาลัยศิลปากรปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยได้มีประกาศใช้ตราสัญลักษณ์ใหม่แทนตราสัญลักษณ์ครุฑ เพื่อใช้ในหนังสือราชการ หนังสือประทับตรา บันทึกข้อความ คำสั่ง และประกาศต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

?? สีเขียวเวอร์ริเดียน หรือที่เรียกตามสีไทยโทนว่า "สีเขียวตั้งแช" เป็นสีของน้ำทะเลระดับลึกที่สุด แต่ในระยะแรกก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้กำหนดใช้สีเขียว ซึ่งเป็นสีพื้นป้ายมหาวิทยาลัยป้ายแรก แต่ช่วงนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดลก็ใช้สีเขียวเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยเช่นกัน จึงมีแนวคิดที่จะสร้างความแตกต่าง และเนื่องจากนักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ นิยมพารุ่นน้องปี 1 ไปทำกิจกรรมรับน้องที่เกาะเสม็ด จึงได้มีโอกาสชื่นชมสีของน้ำทะเลใส และได้นำมาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสีที่บ่งบอกถึงความสร้างสรรค์ของชาวศิลปากร

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัยศิลปากรที่แต่ละคณะวิชาจะมีการบูมสำหรับคณะตนเองซึ่งแตกต่างกันในแต่ละคณะ ขณะที่จะไม่มีการบูมมหาวิทยาลัย โดยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวของประเทศไทยที่ไม่มีการบูมมหาวิทยาลัย

การเรียกชื่อตำแหน่ง "นายกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร" เป็นไปตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2486 ซึ่งในมาตรา 7 ได้บัญญัติไว้ดังนี้ "มาตรา 7 ให้นายกรัฐมนตรี เป็นนายกคณะกรรมการ และให้อธิบดีกรมศิลปากรเป็นอุปนายก" ฉะนั้น นายกรัฐมนตรีจึงดำรงตำแหน่ง "นายกคณะกรรมการมหาวิทยาลัยศิลปากร" โดยตำแหน่ง ดังนั้น ตำแหน่งนายกคณะกรรมการจึงมิได้มีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งไว้ อนึ่ง กรรมการประเภทอื่น อาทิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มีการกำหนดวาระไว้ในมาตรา 9 ให้อยู่ในตำแหน่ง 2 ปีแต่กรรมการผู้นั้นอาจรับแต่งตั้งใหม่ได้ ดังนั้น คณะกรรมการมหาวิทยาลัยจึงมีการแต่งตั้งทุก 2 ปี เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายที่ได้กำหนดไว้

ในปี พ.ศ. 2511 มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ตราพระราชบัญญัติขึ้นมาใหม่ โดยยกเลิก "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2486 รวมทั้งฉบับเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2506 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2508 (แก้คำผิด พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๘)" เรียกว่า "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2511" และได้เปลี่ยนการเรียกชื่อตำแหน่งนายกคณะกรรมการ โดยบัญญัติไว้ใน มาตรา 13 ดังนี้ "มาตรา 13 ให้มีสภามหาวิทยาลัย ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย ฯลฯ" ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี ฉะนั้น ทุก 2 ปี จึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นไปตามข้อกฎหมาย

ต่อมามีการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2515 คณะปฏิวัติจึงได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 181 เพื่อยกเลิกมาตรา 13 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2511 ฉะนั้น เพื่อเป็นการแบ่งเบาภารกิจของนายกรัฐมนตรี มีความดังนี้ "มาตรา 13 ให้มีสภามหาวิทยาลัย ประกอบด้วยนายกสภามหาวิทยาลัย ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ฯลฯ" มาตรา 14 นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่ง 2 ปีแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งใหม่อีกก็ได้

ปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ยกเลิกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2511 รวมทั้งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 181 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2515 และได้ตราพระราชบัญญัติใหม่ขึ้นมาใช้บังคับ ได้แก่ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2530 (แก้คำผิด พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๓๐)" และพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดเกี่ยวกับนายกสภามหาวิทยาลัยไว้ใน มาตรา 13 วรรคสอง ความว่า "คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย" ส่วนวาระการดำรงตำแหน่งได้กำหนดไว้ในมาตรา 15 ความว่า "มาตรา 15 นายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา 15 และ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งหรืออาจได้รับเลือกใหม่อีกได้"

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากรมีนายกคณะกรรมการและนายกสภาฯ มาแล้ว 12 คน ดังรายนามต่อไปนี้

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากรมีผู้อำนวยการและอธิการบดีมาแล้ว 19 คน ดังรายพระนามและรายนามต่อไปนี้

ตั้งอยู่ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน ตรงข้ามพระบรมมหาราชวังและท่าช้างวังหลวง มีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ เดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นวิทยาเขตแรกและเป็นจุดกำเนิดของมหาวิทยาลัย

เป็นที่ตั้งของคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะโบราณคดี คณะมัณฑนศิลป์ และหอศิลป์ต่าง ๆ

มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ยังรวมไปถึงพื้นที่ สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี คณะดุริยางคศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ และบัณฑิตวิทยาลัย

เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ม.ทับแก้ว" ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ซึ่งเคยเป็นพระราชวังของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพื้นที่ประมาณ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา แต่ใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยเพียง 428 ไร่

เป็นที่ตั้งของคณะอักษรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทศโนโลยีอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเปิดให้มีการเรียนการสอนแบบสหศึกษาแก่นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษาปีที่ 1–6 และชั้นมัธยมปีที่ 1–6 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์วิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการต่าง ๆ

สาเหตุที่เลือกจังหวัดนครปฐมเป็นที่ตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เหมาะสมที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยเหตุผลดังนี้

สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคของประเทศไทยในรูปแบบของวิทยาเขตสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงมีปณิธานและปรัชญาการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่พื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศ โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ให้ใช้ที่ราชพัสดุ ณ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 621 ไร่ และได้รับอนุญาตจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี โดยกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ใช้พื้นที่เพิ่มเติม จำนวน 200 ไร่ เพื่อรองรับการเรียนการสอนของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

เป็นที่ตั้งของคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคลังโบราณวัตถุของคณะโบราณคดี

มหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ครอบคลุมทั้งกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมีหน่วยงานจัดการเรียนการสอนทั้งหมด ดังต่อไปนี้

กำแพงก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาประกอบ กำแพงนี้คาดว่าก่อสร้างพร้อมกับวังท่าพระตั้งแต่สมัยรัชกาลที่1 ปัจจุบันคงเหลือเฉพาะด้านริมถนนหน้าพระลาน ถือเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

ปัจจุบันเป็นหอศิลป์ของมหาวิทยาลัย ลักษณะท้องพระโรงเป็นแบบเรือน 5 ห้อง เฉลียงรอบหันหน้ายาวออกหน้าวัง รูปทรงท้องพระโรงที่ปฏิสังขรณ์ใหม่นั้นภายนอกคงยึดตามแบบที่ปรากฏเมื่อครั้งรัชกาลที่3 แต่ภายในคงไว้แต่เสาเดิม มีบันไดใหญ่เข้าทางด้านหน้าได้ทางเดียว กำแพงนั้นเป็นสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่5 มีลูกกรงที่ทำด้วยเหล็กหล่อเป็นลายสวยงาม และได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกรุ่นแรก ๆ ในรัชกาลที่5 กล่าวคือเป็นตึกสองชั้น มีเฉลียงหลังหนึ่งหันเข้าหาอีกหลังหนึ่ง ส่วนหลังนอกนั้นอยู่ข้างสวนแก้ว ตึกหลังในที่มีเฉลียงทำเรียบกว่าหลังนอก และมีเสาทึบ หัวเสาเป็นแบบศิลปะโรมัน ช่องคูหาด้านล่างเป็นช่องโค้ง มีการตกแต่งที่ส่วนต่าง ๆ ภายนอกอาคารเล็กน้อย ส่วนตึกหลังนอกมีรูปทรงทึบกว่า มีการตกแต่งผิวหนังโดยเซาะเป็นร่องในชั้นล่าง ส่วนชั้นบนผนังเรียบ มีเสาติดผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตูต่าง ๆ ด้วยลายปูนปั้นหรือตีตารางไม้ไว้ในช่องแสงเหนือประตูบางส่วน ตึกหลังนอกมีกันสาด มีเท้าแขนรับกันสาดทำอย่างเรียบ ๆ และประดับชายคาด้วยลายฉลุไม้ ตึกหลังในนี้เป็นที่ประทับของพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย พระมารดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยตำหนักกลางนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของหอศิลป์และหน่วยงานของมหาวิทยาลัย

เรียกว่า ศาลาดนตรี เมื่อครั้งรัชกาลที่5 องค์เจ้าของวังเคยประทับที่ศาลานี้เพื่อชมการแสดงหรือประชันดนตรีซึ่งจะตั้งวงกันในสวนแก้ว เพราะในวังท่าพระขณะนั้นมีวงดนตรีประจำวังที่มีชื่อเสียง ศาลาในสวนนี้ทำเป็นศาลาโปร่งมีผนังด้านเดียว หันหน้าเข้าหาสวนแก้ว หลังคาเป็นแบบปั้นหยา มีลายประดับอาคารอย่างละเอียดซับซ้อนกว่าตัวตำหนัก จึงเข้าใจว่าสร้างทีหลัง ลายฉลุไม้ทั้งที่ชายคาท้าวแขนระเบียบทำอย่างประณีตงดงาม

เป็นหนึ่งในศูนย์รวมใจของชาวศิลปากร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บริเวณลานอาจารย์ศิลป์ หลังตึกกรมศิลปากร

พระตำหนักที่โดดเด่นที่สุดในหมู่พระตำหนักและพระที่นั่ง และเป็นสัญลักษณ์ของพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสนามใหญ่ สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2451 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ จุดเด่นของพระตำหนักองค์นี้คือสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับปราสาท ซึ่งเป็นการผสมระหว่างศิลปะเรอเนซองส์ของฝรั่งเศส กับอาคารแบบฮาล์ฟ ทิมเบอร์ของอังกฤษ แต่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระตำหนักว่า พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนัก เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี 2530

พระตำหนัก 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทอง ทาสีแดง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิกของประเทศทางตะวันตก แต่ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบบางส่วนให้เหมาะกับภูมิอากาศแบบเมืองร้อน พระตำหนักองค์นี้สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ โดยมีฉนวนทางเดินทำเป็นสะพาน จากชั้นบนด้านหลังของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ข้ามคูน้ำเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนัก สะพานดังกล่าวหลังคามุงกระเบื้อง และติดหน้าต่างกระจกทั้งสองด้าน ตลอดความยาวของสะพานที่เชื่อมติดต่อถึงกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ ในราวปี พ.ศ. 2459 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบ พระที่นั่งองค์นี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี 2530

อาคารตึกสองชั้นในพระราชวังสนามจันทร์ เคยเป็นที่ประทับในฤดูหนาวของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในอาคารมีเตาผิงและหลังคา มีปล่องไฟตามแบบตะวันตก ในระหว่างที่มีการซ้อมรบเสือป่า พระตำหนักเป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่ากองเสนาน้อยราบเบารักษาพระองค์ โดยพื้นที่ด้านหลังของพระตำหนักเป็นที่ตั้งของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อันเป็นที่มาของคำว่า "ม.ทับแก้ว"

เป็นเรือนไทยภาคกลางที่อาจเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณ และใช้พระตำหนักองค์นี้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์ โดยบริเวณกลางชานเรือนปลูกต้นจันใหญ่แผ่กิ่งก้านไว้ให้ร่มเงาอยู่ เหตุนี้ต้นจันจึงถูกกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย พระตำหนักแห่งนี้ใช้เป็นที่รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีในคราวเสด็จมาประทับพักผ่อนพระอริยาบทระหว่างปฏิบัติพระกรณียกิจเสมอ และใช้ในการพระราชทานพระวโรกาสให้คณะผู้บริหารเข้าเฝ้ารับพระราชทานทุนทรัพย์บำรุงหรือทูลถวายรายงานเกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัย

สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ก่อตั้งวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่บริเวณหน้าคณะศึกษาศาสตร์ ทางทิศเหนือของสำนักงานอธิการบดี

สระน้ำขนาดใหญ่กลางมหาวิทยาลัย อยู่คู่กับพระราชวังสนามจันทร์ มีบรรยากาศร่มรื่น มีการสร้างสะพานข้ามสระหลายแห่ง แต่ที่โดดเด่นคือสะพานไม้หน้าโรงอาหารสระแก้ว ใกล้กันมีศาลาไม้แปดเหลี่ยมแบบโปร่ง ฉลุตามแบบตะวันตก สระน้ำนี้เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและใช้จัดงานลอยกระทงที่มีชื่อเสียง

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งนี้สร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 5 ธันวาคม 2542 เป็นอาคารขนาดใหญ่ ขนาดความสูง 2 ชั้น ใช้ในกิจกรรมสำคัญของมหาวิทยาลัย อาทิ พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา พิธีปฐมนิเทศและบายศรีสู่ขวัญนักศึกษาชั้นปีที่ 1 พิธีถวายราชสักการะในวันมหาธีรราชเจ้าและวันเพชรรัตนราชสุดา ฯลฯ

พระพิฆเนศหล่อโลหะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หน้าตักกว้าง 96 นิ้ว ประดิษฐานเมื่อปี พ.ศ. 2550 ปัจจุบันอยู่บริเวณลานเทวาลัยคเณศ เนื่องในปีมหามงคลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อองค์พระพิฆเนศ ออกแบบปั้นและหล่อโดยอาจารย์เสวต เทศน์ธรรม ประติมากรอาวุโส ศิษย์คนสำคัญของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นสิริมงคลแก่วิทยาเขตสารเทศเพชรบุรี

ลานเนินสูงต่ำหลายเนิน ปูคลุมทั้งหมดด้วยสนามหญ้า มีต้นไม้และสระน้ำขนาดใหญ่ กว้างขวาง จัดแสดงผลงานประติมากรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากทั้งในและต่างประเทศหลายชิ้น ตั้งอยู่บริเวณหน้าวิทยาเขตมีชื่อเล่นว่าลานเทเลทับบี้ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับสถานที่ในละครทีวีเรื่องเทเลทับบีส์ เป็นสถานที่พักผ่อนและใช้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีบรวงสวงพระพิฆเนศ เทศกาลตลาดศิลป์ และพิธีลอยกระทง เป็นต้น

อาคารสูง 7 ชั้น มีลักษณะโดดเด่น ก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้วัสดุและแนวคิดประหยัดพลังงาน เป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดีและหน่วยงานต่าง ๆ ในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และเป็นสัญลักษณ์ของวิทยาเขตสารสนเทศ ด้านข้างอาคารมีทางเดินเชื่อมกับอาคารเรียนรวม 1 เรียกว่าระเบียงชงโค

วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 เป็นวันที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร

ด้วยคุณูปการที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีมีให้ต่อประเทศไทย ทำให้มีการรำลึกถึงท่านทุกวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายเกิดของท่าน เรียกกันว่า "วันศิลป์ พีระศรี" โดยถือเป็นวันสำคัญของวงการศิลปะไทยและนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันศิลป์ พีระศรีนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระจะจัดกิจกรรมขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่าหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน มีการวางดอกไม้เป็นการรำลึกถึงท่านที่ลานอนุสาวรีย์ที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ โดยนักศึกษาจะเปิดร้านขายของที่ระลึกและมีการแสดงดนตรีสดตลอดทั้งวัน นอกจากนั้นยังมีการเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความเคารพต่ออัฐิของท่านในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ และพิธีสำคัญจะเริ่มขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งทุ่ม ซึ่งจะเป็นการจุดเทียนที่ลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์พร้อมไปกับการร้องเพลง Santa Lucia และเพลงศิลปากรนิยมเพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านในวันสำคัญนี้

เป็นบุคคลที่มหาวิทยาลัยศิลปากรมีความภาคภูมิใจในเกียรติประวัติและเกียรติคุณของท่าน ท่านมีคุณปการด้านการศึกษาที่โดดเด่น จนได้รับการยกย่องจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษา ในวาระครบ 100 ปีเกิดของท่าน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยดำรงตำแหน่ง 3 วาระเป็นท่านแรก และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พระราชวังสนามจันทร์ โดยตั้งคณะอักษรศาสตร์ขึ้นเป็นคณะวิชาแรก แล้วจึงมีคณะอื่น ๆ ขึ้นมาตามลำดับดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ท่านจึงเป็นเป็นผู้มีส่วนพัฒนามหาวิทยาลัยให้ก้าวหน้า ทำให้เกิดการขยายตัวทางการศึกษาหลายสาขาวิชา มหาวิทยาลัยมีความรำลึกถึงพระคุณของศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลเป็นอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ วันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปีเป็น "วันศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล" และได้จัดกิจกรรมในวันดังกล่าวเพื่อรำลึกถึงพระคุณท่านที่มีต่อมหาวิทยาลัยศิลปากรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 อันเป็นปีที่เปิดอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี อดีตผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเสด็จฯ ครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร ณ ท้องพระโรง วังท่าพระ

ข้าพเจ้าและพระราชินี มีความพอใจที่ได้ทราบความเป็นมา และผลงานของมหาวิทยาลัยศิลปากรอย่างละเอียด และมีความยินดีที่ได้มามอบปริญญาบัตร และอนุปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นครั้งแรกในวันนี้ ศิลปเป็นเครื่องแสดงเรื่องราว ของมนุษยชาติอย่างสำคัญอย่างหนึ่ง ประเทศที่เจริญแล้วย่อมยกย่องและอุดหนุนเกื้อกูลการศึกษาค้นคว้าวิชาด้านนี้ เสมอด้วยวิชาด้านอื่น ๆ และย่อมมีสถานศึกษาชั้นสูงเพื่อการนั้นอยู่ทั่วกัน การที่มหาวิทยาลัยศิลปากรพยายามปรับปรุงขยายกิจการของมหาวิทยาลัยให้เจริญขึ้นเป็นลำดับ จนเป็นปึกแผ่นมั่นคงได้เช่นนี้จึงเป็นที่น่าอนุโมทนา และน่าจะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง

ข้าพเจ้าขอชมเชยบัณฑิตทุกรุ่น ทุกคน ที่มีความเพียรพยายามในการศึกษาเล่าเรียน จนได้รับความยกย่องอย่างสูงจากมหาวิทยาลัย ในบัดนี้ ท่านทั้งหลายก็ได้รับปริญญาทางศิลปแล้ว จึงควรจะคำนึงถึงความเป็นศิลปินซึ่งหมายถึงความสามารถตามธรรมชาติ ที่จะเห็นความงาม และคิดถึงความงาม เมื่อเกิดความคิดแล้วก็ต้องอาศัยวิชาความรู้ หรือเทคนิคเช่นวิชาช่างเป็นต้น จึงจะแสดงออกมาเป็นจิตรกรรม ปฏิมากรรม หรือศิลปกรรมในลักษณะอื่น ๆ ได้ ท่านทั้งหลาย จะออกไปมีหน้าที่การงานเกี่ยวข้องกับศิลปโดยตรง ควรจะได้ตระหนักว่าต้องฝึกฝนทั้งความเป็นศิลปิน ทั้งวิชาช่างของท่านพร้อมกันไป ท่านจึงจะทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ และสามารถรักษามาตรฐานศิลปชาติไว้สืบไปได้

ในที่สุดนี้ ข้าพเจ้าขออวยพรให้ทุกท่านที่ประชุมพร้อมกันอยู่ ณ ที่นี้ มีความสุข ความเจริญทั่วกัน

พระปฐมบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร ศิลปบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยศิลปากร วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2507

ปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

...บัณฑิตทั้งหลายต่างก็ได้รับปริญญาเป็นเครื่องรับรองความรู้ และได้กล่าวคำปฏิญาณว่าจะใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ นับเป็นการให้คำมั่นสัญญาที่มีคุณค่ามาก แต่การที่จะปฏิบัติตามคำปฏิญาณให้ได้จริงนั้น บัณฑิตต้องยึดมั่นในสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ต้องมีประกอบส่งเสริมกับความรู้เสมอไป ไม่อาจแยกขาดจากกันได้ สิ่งสำคัญที่ว่านี้ ก็คือคุณธรรม อันเป็นเครื่องกำกับควบคุม ให้แต่ละคนใช้ความรู้ด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ และชี้ชัดตัดสินว่าควรนำความรู้ไปใช้อย่างไรให้สำเร็จผลเป็นประโยชน์แท้ หากขาดคุณธรรมคอยประคับประคองป้องกัน ก็มีโอกาสที่คนเราจะใช้ความรู้ไปในทางชั่วทางเสื่อม ซึ่งนอกจากจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแล้ว ยังกลับเป็นโทษเป็นภัยแก่ตนเองและผู้อื่นด้วย จึงขอให้บัณฑิตทุกคนสร้างสมอบรมคุณธรรมให้เจริญงอกงามควบคู่กับความรู้ จะได้สามารถรักษาคำสัตย์ปฏิญาณอันได้กล่าวไว้ตลอดจนสร้างสรรค์ประโยชน์ตน ประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างสมบูรณ์...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้เริ่มจัดการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เป็นการจัดระดับ (Rating) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 5 ดีมาก, ระดับ 4 ดี, ระดับ 3 ปานกลาง, ระดับ 2 ควรปรับปรุง, และระดับ 1 ต้องปรับปรุงโดยด่วน การจัดระดับแบ่งออกเป็นสาขาวิชาต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยี กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาแพทยศาสตร์ และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยโดย สกว. เป็นความสมัครใจของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งที่จะส่งข้อมูลเพื่อเข้าร่วมการประเมิน

นอกจากการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว สกว. ยังมีแนวคิดที่จะประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยอีกด้วย โดยยังอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลก่อนการประเมินคุณภาพผลงานวิจัย

อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยในที่นี้ เป็นการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยโดยหน่วยงานของไทยเอง และนิตยสารของต่างประเทศ

สำหรับหน่วยงานของไทย ในปี พ.ศ. 2549 นี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้มีการจัดลำดับมหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดย 2 หน่วยงาน คือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)

สำหรับในต่างประเทศ ได้มีการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกจากทั้งไทมส์ไฮเออร์เอดยูเคชันซัปพลีเมนต์, เอเชียวีก, คอกโครัลลีไซมอนส์ (QS) , CWTS, CWUR ฯลฯ รวมทั้งการจัดอันดับความเป็นอิเล็กทรอนิกส์และการเข้าถึงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยจากเว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์ โดยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยบางส่วนได้ถูกเสนอชื่อเข้าไปในนั้น ในขณะที่บางลำดับ เช่นจากมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง ไม่มีรายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยแต่อย่างใด

Quacquarelli Symonds (QS) ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับภูมิภาคเอเชียและระดับโลก แบ่งเป็นโดยภาพรวมและจัดแยกสาขาออกเป็น 5 สาขา (สาขาละ 100 อันดับ) ได้แก่ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวการแพทย์ สาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และสาขาสังคมศาสตร์ โดยระดับภูมิภาคเอเชีย ดัชนีชี้วัดสำหรับการจัดอันดับของ QS Asia University Ranking ได้แก่

พ.ศ. 2561 "มหาวิทยาลัยศิลปากร" (Silpakorn University) อยู่ในอันดับที่ 301–350 ของทวีปเอเชีย และอยู่ในอันดับ 10 ของประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

University Ranking by Academic Performance (URAP) เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกที่ก่อตั้งขึ้นโดยสถาบันสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคนิคตะวันออกกลาง (Informatics Institute of Middle East Technical University) ประเทศตุรกี ในปี พ.ศ. 2552 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการที่จะพัฒนาระบบการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง เป็นต้น โดยเริ่มทำการเผยแพร่งานวิจัยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา

พ.ศ. 2559–2560 "มหาวิทยาลัยศิลปากร" (Silpakorn University) อยู่ในอันดับที่ 1,968 ของโลก อันดับที่ 17 ของประเทศไทย อันดับที่ 681 ของทวีปเอเชีย

SCImago Institutions Ranking (SIR) เป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ใด้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น

การจัดอันดับของ "เว็บโอเมตริกซ์" (Webometrics) จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับเว็บโอเมตริกซ์จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวนลิงก์ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บไซต์นั้น ๆ จากเว็บไซต์ภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยโปรแกรมค้นหา และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่เดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคม

เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 "มหาวิทยาลัยศิลปากร" (Silpakorn University) อยู่ในอันดับที่ 2,083 ของโลก อันดับที่ 672 ของทวีปเอเชีย อันดับที่ 47 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 15 ของประเทศไทย

Nature Index จัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group

เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวและมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยใช้ดัชนีชี้วัดดังนี้

พ.ศ. 2559 "มหาวิทยาลัยศิลปากร" (Silpakorn University) อยู่ในอันดับที่ 173 ของโลก สำหรับการจัดอันดับในรูปแบบวิทยาเขตในเมือง อยู่ในอันดับที่ 78 อันดับที่ 10 ของประเทศไทย

การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ในการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยรัฐ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 50 มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่เข้าร่วมแต่เสนอว่าไม่ต้องการอยู่ในอันดับ และมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ได้ร่วมด้วยเนื่องจากสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยแจ้งว่ายังไม่ให้ข้อมูลในปีนั้น

การจัดอันดับนี้ใช้ชื่อว่า "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย" ได้แบ่งหัวข้อการจัดอันดับออกเป็น 2 ส่วนหลักคือด้านการวิจัยและด้านการเรียนการสอน ได้จัดทำออกเป็น 2 ส่วนย่อยคือ อันดับในภาพรวมแบ่งแยกตามมหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็นกลุ่ม และอันดับแบ่งแยกย่อยในแต่ละสาขาวิชา โดยแบ่งออกเป็น 7 สาขาวิชาย่อย ได้แก่

"มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ" (national university) หรือที่เรียกว่า "มหาวิทยาลัยนอกระบบ" คือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีการบริหารการจัดการอิสระแยกจากระบบราชการ (autonomous university) แต่ยังได้รับเงินอุดหนุนทั่วไป (block grant) ที่รัฐจัดสรรให้เป็นรายปีโดยตรง เพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็นในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย และเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2559" โดยได้ยกเลิก "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2530 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปีพ.ศ. 2541" และกำหนดให้มหาวิทยาลัยมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301